Royal Thai Government and WHO Country Cooperation
Strategy Program on AMR: แผนงาน CCS-AMR
แผนงานความร่วมมือระหว่างประเทศกับองค์การอนามัยโลกเป็นแผนยุทธศาสตร์ที่องค์การอนามัยโลก
จัดทำขึ้นเพื่อทำงานร่วมกับประเทศต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ มีหลักการสำคัญคือการเป็น
เจ้าของร่วมกันระหว่างองค์การอนามัยโลก และแต่ละประเทศ
แผนงาน WHO CCS-AMR พ.ศ. 2560-2564 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่องค์การอนามัยโลกจัดทำขึ้น
เพื่อทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ มีระยะเวลา 5 ปี สอดคล้องกับ
แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564
เพื่อส่งเสริม สนับสนุน หล่อลื่น เติมเต็ม การดำเนินงาน และการขับเคลื่อน
แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย
พ.ศ. 2560-2564
1. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการ
การดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการติดตามและประเมินผลที่มีอยู่เดิม
และพัฒนาระบบใหม่ในการติดตามและประเมินผลเมื่อจำเป็น
3. เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อการขับเคลื่อน
แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย
พ.ศ. 2560-2564 อย่างมีประสิทธิภาพ
1. โครงการจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ของปริมาณการบริโภคยาต้านจุลชีพในมนุษย์และสัตว์ในระดับประเทศ 3 ปี ย้อนหลัง มีเป้าหมาย คือเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐานของปริมาณการบริโภคและการกระจายยาต้านจุลชีพระดับประเทศของ ยาต้านจุลชีพสำเร็จรูปที่ใช้ในมนุษย์และสัตว์
2. การพัฒนาข้อเสนอการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลอย่างบูรณาการ (National Integrated AMR Management Hospital) มีเป้าหมาย เพื่อทบทวนสถานการณ์เชื้อดื้อยาและระบบบริหารจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพใน โรงพยาบาล รวมทั้งกำหนดกรอบการทำงานแบบบูรณาการของระบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานในประเทศที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการ การดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลอย่างบูรณาการนของปริมาณการบริโภคและการกระจายยาต้านจุลชีพระดับประเทศของ ยาต้านจุลชีพสำเร็จรูปที่ใช้ในมนุษย์และสัตว์
1. รายงานความก้าวหน้าระยะครึ่งแผนของการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564
2. Development of Surveillance Antimicrobial Consumption (SAC) in human and animal (โครงการพัฒนาระบบ ติดตามการกระจายและการใช้ยาต้านจุลชีพในมนุษย์และสัตว์) เป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องโครงการ baseline data ในปีที่ 1 เพื่อพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพที่มีความถูกต้อง และสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ในการกำกับติดตามและประเมินปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์และสัตว์ (เป้าประสงค์หนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ฯ)
3. Developing antimicrobial stewardship competency and competency assessment of community pharmacists in Thailand (การพัฒนาเกณฑ์สมรรถนะและการประเมินสมรรถนะการใช้ยาต้านจุลชีพของเภสัชกรชุมชนในประเทศไทย) เพื่อวิเคราะห์สภาวการณ์ของยาต้านจุลชีพที่มีอัตราการใช้ในปริมาณสูงเพื่อนำผลที่ได้มาทบทวนและเป็นข้อมูลในการพัฒนา กรอบของ Stewardship competency framework ที่จำเป็นสำหรับเภสัชกรร้านยาเพื่อเสริมความสามารถในการควบคุม กำกับการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างถูกต้อง รวมทั้งการประเมินระดับของ Stewardship competency เพื่อนำไปวิเคราะห์ช่องว่าง และนำไปสู่พัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องของเภสัชกร
4. Strengthening the monitoring system of knowledge and awareness of antibiotics and antimicrobial resistance in Thai population (การพัฒนาระบบติดตามความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ของประชาชนไทย) เป็นการสำรวจเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (Baseline data) ในการกำกับติดตามและประเมินความรู้เรื่อง เชื้อดื้อยาและตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมของประชาชน (เป้าประสงค์หนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ฯ)
5. Research mapping and prioritization on antimicrobial resistance เพื่อรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้าน AMR ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย และหาช่องว่างของงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 6
6. Point Prevalence Survey (PPS) on HAIs and AMR เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาเครื่องมือ การจัดทำ point prevalence survey on HAIs AMR and AMU ของโรงพยาบาลในประเทศไทย
7. Infection and Prevention Control (IPC) assessment เพื่อประเมินสถานการณ์ของนโยบายการป้องกัน และการควบคุม เชื้อ (IPC policy) ของประเทศในปัจจุบันและระบุปัจจัยที่ขีดขวางการดำเนินงานด้าน IPC รวมทั้งศึกษาว่ายังมีช่องว่างของ การทำงานด้าน IPC อะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับไปยังระดับนโยบายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบ IPC ในระดับประเทศ
1. รายงานการประเมินการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564
2. Thailand Surveillance Antimicrobial Consumption (Year 3)
3. Comprehensive report of AMR/AMU in human and food sectors for 2017 and 2018
4. Revision of Health and Welfare Survey tool (AMR awareness)
5. AMR Dictionary