ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1

    ความก้าวหน้าที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่่

    ด้านที่ 1 การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในภาคสุขภาพคนและการสาธารณสุข

    1. พัฒนาศักยภาพระบบเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ (ระบบ NARST) โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
      • ขยายจำนวนโรงพยาบาลในเครือข่าย NARST เพิ่มขึ้น
      • พัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลและรายงานผลให้ละเอียด มีความจำเพาะ และทันสมัยมากขึ้น คือ สามารถรายงานสถานการณ์ อัตราการเชื้อดื้อยาได้ทั้งในระดับประเทศ และระดับเขตสุขภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานในระดับโรงพยาบาล และพื้นที่ในการแก้ปัญหาของตนได้ตรงประเด็น
      • ยกระดับมาตรฐานและพัฒนาสมรรถนะของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา เช่น คู่มือมาตรฐานห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา คู่มือมาตรฐานความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ จัดอบรมแก่เจ้าหน้าที่ทางห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล และ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นต้น
    2. นำระบบเฝ้าระวังแบบค้นหาผู้ป่วยตามแนวทางองค์การอนามัยโลก Global Antimicrobial resistance Surveillance System (GLASS) มาใช้ในประเทศไทยโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยความร่วมมือของกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
    3. พัฒนาระบบการเฝ้าระวังผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาที่มีความสำคัญสูง (Critically important multidrug resistant Organisms) โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
    4. ขยายขอบเขตของระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล (HAI surveillance) ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค เพื่อให้ครอบคลุมการเฝ้าระวังผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยา

    ด้านที่ 2 การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในภาคสุขภาพสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และห่วงโซ่การผลิตเนื้อสัตว์

    • หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    • กรมปศุสัตว์ได้เริ่มระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหารตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก FAO และ Codex มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อติดตามสถานการณ์การดื้อยาต้านจุลชีพในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ฟาร์ม โรงเชือด จนถึงสถานที่ จำหน่าย โดยเริ่มต้นการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลซึ่งจัดทำขึ้นโดยหน่วยงานภายในกรมปศุสัตว์ และได้รับการสนับสนุน การเขียนโปรแกรมสารสนเทศโดยกรมควบคุมโรค

    ด้านที่ 3 การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาและยาต้านจุลชีพตกค้างในอาหาร

    • ดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข
    • สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เริ่มพัฒนาระบบจัดการความเสี่ยงในอาหาร (Risk assessment) ในปี 2561 ได้ดำเนินโครงการศึกษาสถานการณ์การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ดื้อยาต้านจุลชีพในอาหาร ร่วมกับ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสำรวจการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่มีโอกาสดื้อยาต้านจุลชีพ ในเนื้อสัตว์ ณ จุดจำหน่ายหรือจุดกระจายเนื้อสัตว์ไปยังสถานที่จำหน่ายหรือผู้บริโภค
    • สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยเชื้อดื้อยา และยาต้านจุลชีพตกค้างในอาหารชนิดต่างๆ เพื่อสำรวจสถานการณ์การตกค้างของยาต้านจุลชีพและเชื้อดื้อยาในอาหาร

    ด้านที่ 4 การเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาและยาต้านจุลชีพตกค้างในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

    • ดำเนินโครงการ ESBL Ec Tricycle Survey เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างประเทศเนเธอร์แลนด์ และ องค์การอนามัยโลก เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้สุขภาพหนึ่งเดียวในประเทศที่ กำลังพัฒนาจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการทำงานร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นการสำรวจความชุกของ Extended-Spectrum Beta- Lactamase (ESBL) producing E. coli ซึ่งพบได้ทั้งในคน สัตว์ (ห่วงโซ่อาหาร) และสิ่งแวดล้อม

    ยุทธศาสตร์ที่ 2

    ปัญหาการกระจายยาต้านจุลชีพไปยังภาคส่วนที่ไม่เหมาะสม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดการดื้อยาต้านจุลชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ได้พัฒนาระบบควบคุมและติดตามการกระจายยาต้านจุลชีพทั้งยาสำหรับมนุษย์และสัตว์พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้ กฏหมายร่วมกับมาตรการทางสังคม

    ความก้าวหน้าที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

    1. การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพที่ใช้สำหรับมนุษย์
      หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาตัวอย่างการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
      • การเพิกถอนยา Colistin ชนิดรับประทาน และการตัดยาต้านจุลชีพออกจากตำรับยาอมบรรเทาอาการเจ็บคอ
      • กำหนดให้ยาต้านจุลชีพทุกชนิดรวมทั้งชนิดที่เคยจัดเป็น ‘ยาสามัญประจำบ้าน’เป็น ‘ยาอันตราย’และยาหลายชนิดมีสถานะ ของการควบคุมที่เข้มงวดกว่ายาอันตราย
      • แผนการปรับสถานะยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ พ.ศ. 2561-2563 (Antimicrobial Reclassification Plan 2018-2020) ซึ่งแบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ ดังน
      ระยะที่ 1 ได้แก่ ยาต้านวัณโรค และยาต้านจุลชีพชนิดฉีด
      1. กลุ่มยาต้านวัณโรค เปลี่ยนสถานะจากยาอันตราย เป็นยาควบคุมพิเศษ และกำหนดช่องทางการจำหน่ายเฉพาะสถานพยาบาล ภายใต้เงื่อนไขที่กรมควบคุมโรคกำหนด (สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนผ่านโปรแกรมบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรค)
      2. ยาต้านแบคทีเรียชนิดฉีด เปลี่ยนสถานะจากยาอันตราย เป็นยาควบคุมพิเศษ
      ระยะที่ 2 ได้แก่ ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานกลุ่ม cephalosporin, fluoroquinolone, macrolides, betatalactam- ระยะที่ 3 ได้แก่ ยาต้านจุลชีพชนิดใช้ภายนอก/ใช้เฉพาะที่ (ยาตา/ยาหู)
    2. การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพที่ใช้สำหรับสัตว์

      หน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ การดำเนินงานในระยะครึ่งแผนฯ ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
      2.1 ปรับสถานะยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ที่สำคัญจากยาอันตรายเป็นยาควบคุมพิเศษ
      2.2 แยกระบบการควบคุม medicated premix และmedicated feed ออกจากกัน

    3. การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพที่ใช้สำหรับพืชและการเกษตร

      ประเด็นเรื่องการนำยาต้านจุลชีพที่ใช้สำหรับมนุษย์ เช่น ampicillin, amoxicillin, tetracycline และ streptomycin ไปใช้ในการ รักษาโรคกรีนนิ่ง (Citrus greening disease) ในพืชตระกูลส้ม การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องมองให้รอบด้านโดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และผลกระทบต่อเกษตรกร สวนส้มไปพร้อมกัน
      คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 จึงมีมติให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เร่ง ทำความเข้าใจกับเกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาต้านจุลชีพในการรักษาโรคกรีนนิ่ง และแสวงหามาตรการที่เหมาะสม และ ปฏิบัติได้ในการรักษาโรคกรีนนิ่ง

    4. การพัฒนาระบบติดตามและเฝ้าระวังการบริโภคยาต้านจุลสำหรับมนุษย์และสัตว์ในระดับประเทศ

      พัฒนาระบบติดตามการกระจายและการบริโภคยาต้านจุลชีพในคนและในสัตว์ (Thailand Surveillance of Antimicrobial Consumption : Thailand-SAC) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการติดตามข้อมูลการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย และประเมินผลตามเป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 และจัดทำรายงาน Thailand-SAC ประจำปีอย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่รายงานสู่สาธารณะ

      จากรายงาน Thai-SAC ทำให้ได้ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่

      1. ปริมาณการบริโภคยาต้านจุลชีพของมนุษย์ในประเทศไทย พ.ศ. 2560 = 74.22 DDDs/1000 ประชากร/วัน
      2. ปริมาณการบริโภคยาต้านจุลชีพของสัตว์ในประเทศไทย พ.ศ. 2560 = 560.08 มิลลิกรัม/PCUThailand)

    ยุทธศาสตร์ที่ 3

    ความก้าวหน้าที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 ตาม 5 กลยุทธ์ ดังนี้
    กลยุทธ์ที่ 1 การจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพภายในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบและบูรณาการ

    การพัฒนากรอบการทำงานระดับโรงพยาบาล และกรอบการประสานการทำงานระดับประเทศเพื่อแก้ปัญหา AMR อย่างบูรณาการ ได้แก่

    • กรอบการทำงานเพื่อจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล (Integrated AMR Management in Hospital : IAM) และขับเคลื่อน IAM ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลรัฐทุกสังกัดและโรงพยาบาลเอกชน
    • กรอบการประสานงานระดับประเทศเพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล (National coordination framework for IAM) คือ กรอบการประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานของโรงพยาบาลที่อยู่ต่างสังกัดกัน สามารถ ทำงานด้วยกันได้อย่างสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกรอบการทำงาน IAM

    กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านโรคติดเชื้อ

    • อบรมหลักสูตรระยะสั้นแก่บุคลากรทางการแพทย์ และหลักสูตรพยาบาลโรคติดเชื้อ โดยครอบคลุมประเด็นเรื่อง AMR และ กรอบการทำงาน IAM รวมทั้งการจัดประชุมวิชาการระดับประเทศว่าด้วยการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล ประจำปี 2562 เรื่อง “Combating AMR by IC and ASP” รวมถึงการทบทวนคู่มือแนวทางการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา ต้านจุลชีพในโรงพยาบาล เพื่อเผยแพร่เผยแพร่แก่โรงพยาบาลทุกระดับ (โดยสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค ร่วมกับ ชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย)
    • อบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาของโรงพยาบาลต่างๆ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (ศวก.) ทั่วประเทศ (โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
    • อบรมหลักสูตรระยะสั้นว่าด้วย AMR และ Antimicrobial Stewardship ให้แก่เภสัชกรโรงพยาบาล (โดยกองบริหารการ สาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย (โดยกลุ่มเภสัชกร ผู้ดูแลการบำบัดผู้ป่วยโรคติดเชื้อด้วยยาต้านจุลชีพ)
    • ในส่วนของความพร้อมเกี่ยวกับคู่มือและแนวทางต่างๆ ภายใต้กรอบการทำงาน IAM พบว่ามี Fact sheet ที่อธิบายกรอบการ ทำงาน IAM (โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) คู่มือและแนวทางเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพทาง ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา (โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์) คู่มือและแนวทางเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (โดยสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค) และกำลังมีการพัฒนาคู่มือและแนวทางการควบคุม กำกับ และ ดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม โดยคณะทำงานจัดทำคู่มือ Antimicrobial Stewardship กรมการแพทย์ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผู้แทนจากราชวิทยาลัยแพทย์ วิทยาลัยแพทย์สมาคมทางวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องทางด้านโรคติดเชื้อ ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคติดเชื้อของคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์

    กลยุทธ์ที่ 3 การกำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในสถานพยาบาล

    ในภาพรวม ระบบการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาลที่เป็นภาพรวมของประเทศ ยังอยู่ในช่วงของการพัฒนา แต่ได้มีความก้าวหน้าของการดำเนินงานเป็นระยะ เช่น

    • การพัฒนาระบบเพื่อติดตามและประเมินอัตราการป่วยจากเชื้อดื้อยา
    • การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานIAM ตาม Service Plan ของกระทรวงสาธารณสุข
    • อยู่ระหว่างการพัฒนาเครื่องมือประเมินศักยภาพการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของโรงพยาบาล (Joint External Evaluation Tool: JEE) ภายใต้โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล

    กลยุทธ์ที่ 4 และ 5 การควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในคลินิก และร้านยา

    การควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในคลินิก และร้านยา รวมทั้งแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล เน้นการ ดำเนินงานเพื่อลดอัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นใน 3 โรคที่พบบ่อยในชุมชน ได้แก่ โรคติดเชื้อทางเดิน หายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน และบาดแผลเลือดออกไม่ให้เกินร้อยละ 20 โดยเริ่มดำเนินการในปี 2550 ใน 3 โรคเป้าหมาย ภายใต้โครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (Antibiotics Smart Use: ASU) โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายใต้การสนับสนุนทุนจากองค์การอนามัยโลก ในปี 2552 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติใช้มาตรการทางการเงินในการจูงใจโรงพยาบาลเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะใน 3 โรค ดังกล่าว โดยบรรจุแนวปฏิบัติ ASU เข้าเป็นตัวชี้วัดด้าน Pay-for-performance (P4P) ต่อมาในปี 2559 กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศนโยบายใช้ยาอย่างสมเหตุผล (RDU) และบรรจุแนวปฏิบัติ ASU/RUA ใน Service Plan RDU-AMR ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ มาตรการทางการปกครอง เพื่อควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และกำหนดให้อัตราการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะในโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคท้องร่วงเฉียบพลัน บาดแผลเลือดออกและการคลอด ธรรมชาติ ไม่เกินร้อยละ 20, 20, 40 และ 10 ตามลำดับ

    ยุทธศาสตร์ที่ 4

    ความก้าวหน้าที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4 แบ่งเป็น 5 ภาคส่วน สรุปได้ดังนี้
    ภาคปศุสัตว์ (กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานหลัก)

    1. พัฒนามาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น
      • จัดทำกฎกระทรวง ระเบียบและประกาศตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าเพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 เพื่อบังคับใช้กฎหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      • ส่งเสริมและพัฒนาระบบโรงฆ่าสัตว์และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์ภายใต้กฎหมายที่บังคับและตามมาตรฐานสากล เพื่อลดเชื้อดื้อยา ต้านจุลชีพในห่วงโซ่การผลิตอาหาร
      • กำกับดูแลการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated feed) โดยมีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดลักษณะเงื่อนไขของ อาหารสัตว์ที่ผสมยาที่ห้ามผลิต นำเข้า ขาย และใช้ พ.ศ. 2561 ซึ่งกำกับดูแลภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558
    2. การลดการใช้ยาต้านจุลชีพในการทำปศุสัตว์ เช่น
      • ดำเนินการโครงการ “การลดใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์”
      • โครงการ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะในระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ (Raised Without Antibiotics; RWA)” ร่วมลงนาม MOU โครงการการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561 และได้มีการมอบประกาศนียบัตรให้กับเกษตรกร ที่ผ่านการรับรอง “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ” โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 ในงาน “ภาคปศุสัตว์ ร่วมใจ ใส่ใจการใช้ยาปฏิชีวนะ (Livestock Stakeholder Handle Antibiotics With Care)” โดยเป็นการจัดงานในช่วงที่มีการรณรงค์ “World Antibiotics Awareness Week (WAAW)” ทั่วโลก ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ OIE/FAO/WHO และ USAID และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
      • จัดทำแนวทางปฏิบัติ (Guideline) ร่วมกับสัตวแพทยสภา ภาคการศึกษา เฉพาะอย่างยิ่งคณาจารย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์มีการ ส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในฟาร์มปศุสัตว์ หรือการเลี้ยงสัตว์โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ และจัดทำโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้ทางเลือกอื่นๆ (Alternatives) เพื่อทดแทนและลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เช่น สมุนไพร Prebiotics และ Probiotics เป็นต้น

    ภาคประมง (กรมประมงเป็นหน่วยงานหลัก)

    การพัฒนาบุคลากรด้านการกำกับดูแลด้านกฎหมายในการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ ภายใต้ พ.ร.บ. ยา 2510 และ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว

    1. การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ (Health Management Practice) และการป้องกันโรคสัตว์น้ำตามหลักการ ความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อลดปัญหาเรื่องโรคสัตว์น้ำและลดการใช้ยาต้านจุลชีพ
    2. การสร้างความตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลและเชื้อดื้อยาให้กับบุคลากรหน่วยงาน ภาครัฐและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยผ่านทางโครงการจัดฝึกอบรมและการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่
      • จัดฝึกอบรมนักวิชาการประมงด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
      • จัดฝึกอบรมเกษตรกร เพื่อให้ความรู้ เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
      • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและเชื้อดื้อยา
    3. การจัดทำแนวปฏิบัติในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเกษตรกรผู้เพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำมีคู่มือในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล

    ภาคการเพาะปลูก (กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหลัก)

    1. มีการผลิตพันธุ์ส้มปลอดโรคทางการค้าโดยวิธี Heat therapy + Shoot-tip grafting ซึ่งเป็นวิธีสากลที่นานาชาติใช้ผลิตพันธุ์ส้ม ปลอดโรค โดยกรมวิชาการเกษตรได้ทำการผลิตตาพันธุ์ส้มปลอดโรคดังกล่าวเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อจำหน่าย ให้แก่เกษตรกรนำไปผลิตเป็นต้นพันธุ์ส้มปลอดโรค ซึ่งมีพันธุ์ต่างๆ ดังนี้ ส้มเขียวหวาน ส้มโชกุน/สายน้ำผึ้ง ส้มโอ 6 สายพันธุ์ ส้มจุก มะนาว และมะกรูด
    2. มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์และหาแนวทางในการลดการใช้ยาต้านจุลชีพเช่นการสำรวจสถานการณ์และหาแนวทาง ในการลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสวนส้มในจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีการใช้ amoxicillin, ampicillin และ tetracycline โดยการฉีดเข้าไปในต้น พ่น หรือสเปรย์ มักจะฉีดทุก 3-4 เดือน และทิ้งไว้มากกว่า 2 เดือนขึ้นไปก่อนจะเก็บเกี่ยว การศึกษาผลตกค้างของยาต้านจุลชีพที่ใช้ในการจัดการโรคกรีนนิ่ง และการพัฒนาการผลิตพันธุ์ปลอดโรคกรีนนิ่งของส้มโอขาว แตงกวาจังหวัดชัยนาท เป็นต้น

    ด้านมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร (สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นหน่วยงานหลัก)

    1. สำหรับการกำหนดมาตรฐานของ Codex ด้านเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโดยคณะ The Ad hoc Codex Intergovernmental Task Force on Antimicrobial Resistance (TFAMR) กำหนดกรอบการทำงานในปี พ.ศ. 2560 – 2563 เพื่อพิจารณาปรับปรุงเอกสาร Code of practice to minimize and contain foodborne AMR (CXC 61-2005) และจัดทำเอกสาร Guidelines for the integrated monitoring and surveillance of foodborne AMR เพื่อจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพตลอดห่วงโซ่อาหาร ที่ผ่านมาประเทศไทยมีโอกาสนำเสนอความเห็นและมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ รวมทั้งเข้าร่วมในคณะทำงานย่อย ที่จัดตั้งขึ้นระหว่างการประชุม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 – 2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการดื้อยาในพืชและภาคการเกษตร เนื่องจาก แต่ละประเทศซึ่งรวมถึงประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการกำหนดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งนี้ มกอช. ซึ่ง ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะผู้แทนไทย ได้ติดตามการดำเนินการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เข้าร่วมเป็นสมาชิกในคณะทำงาน และ นำเสนอร่างเอกสารให้คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ สาขาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพพิจารณาให้ข้อคิดเห็น จัดทำข้อคิดเห็นแจ้งตอบ เพื่อปรับแก้เอกสารสำหรับการประชุม TFAMR ครั้งที่ 7 ซึ่งกำหนดจัดในเดือนธันวาคม 2562 ต่อไป (ปัจจุบันเอกสารอยู่ในขั้นตอนที่ 3 ของขั้นตอนการจัดทำมาตรฐาน Codex)
    2. สำหรับการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรของประเทศที่เกี่ยวข้องการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ (Good Agriculture Practice) ซึ่งรวมถึงการดูแลสุขอนามัยสัตว์ในฟาร์มให้แข็งแรงเพื่อลดการใช้ยาต้านจุลชีพในฟาร์ม และส่งเสริม ให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มกอช. ดำเนินการจัดทำมาตรฐานบังคับ “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่” ซึ่งปัจจุบัน มาตรฐานฉบับนี้ได้ประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไปแบบสมัครใจในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2562 ในส่วนของ การกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำเสนอร่างกฎกระทรวงต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ ความเห็นชอบก่อน นำเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างกฎกระทรวงและเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ลงนามกฎกระทรวง เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นมาตรฐานบังคับต่อไป

    ด้านสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน

    ดำเนินการโดยภาคีคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ สัตวแพทยสภา และเครือข่าย Thailand One Health University Network
    ผ่านโครงการต่าง ๆ ภายใต้สัตวแพทยศาสตร์ศึกษาหรือคณะทำงานเฉพาะกิจ ดังนี้

    1. มีโครงการ Rational drug use veterinary hospital ซึ่งได้ปรับมาตรฐานของ Thailand Animal Hospital Standards and Accreditations (TAHSA) มาใช้กับโรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอนเพื่อให้มาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมการจัดการเรียน การสอนด้วย (TAHSA plus) ซึ่งได้จัดทำมาตรฐาน TASHA Plus เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2560 และมีโรงพยาบาลสัตว์ 4 แห่ง อาสานำร่องในการทำการประเมินตนเอง (ในปัจจุบัน) และมีการดำเนินการปรับปรุงการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน
    2. แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิตเมื่อมีนาคม 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสถานการณ์การจัดการเรียนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2562 และ เพื่อติดตามความก้าวหน้าการจัดการเรียนการสอนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต
    3. จัดทำหนังสือหลักการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์เลี้ยง โดยมีการจัดพิมพ์ถึง 2 ครั้ง

    ยุทธศาสตร์ที่ 5

    ก่อนมีแผนยุทธศาสตร์ฯ ประเทศไทยมีกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาและการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม เป็นระยะๆ แต่ขาดความต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2550 การดำเนินงานด้านนี้มีความต่อเนื่องมากขึ้น แต่ยังขาดการบริหารจัดการ ในระดับประเทศจึงทำให้ทิศทางการทำงานของหน่วยงานต่างๆ และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ชัดเจน

    หลังมีแผนยุทธศาสตร์ฯ มีการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านที่สำคัญ คือ

    (1) มีโครงสร้างการประสานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ ภาคการส่งเสริมสุขภาพ และภาคประชาสังคม พร้อมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการสื่อสารเพื่อ ส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพแก่ประชาชน พ.ศ. 2562-2564

    (2) มีการประเมินและ ติดตามความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมของประชาชนในภาพรวมของประเทศ ผ่านการสำรวจอนามัยและสวัสดิการในปี 2560 ทำให้ทราบสถานการณ์ด้านนี้ของประเทศไทย

    (3) หน่วยงานต่างๆ มีการ วางกลยุทธ์ในการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนได้อย่างสอดคล้องกันและเป็นระบบมากขึ้น เช่น การใช้กลยุทธ์ผ่านสื่อบุคคล (ground war) ในการบรรจุความรู้เรื่องนี้เข้าในหลักสูตรและกิจกรรมของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งมีกว่า 1.04 ล้านคน ทั่วประเทศ ควบคู่กับกลยุทธ์สื่อกระแสหลัก (air war) เช่น การรณรงค์ผ่าน social media และสื่อโทรทัศน์ที่ประชาชนทั่วประเทศ สามารถเข้าถึงได้ (รายละเอียดในบทที่ 9)

    ยุทธศาสตร์ที่ 6

    ความก้าวหน้าที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 6 ตาม 5 กลยุทธ์ ดังนี้
    กลยุทธ์ที่ 1 และ 2 การพัฒนาโครงสร้างและกลไกระดับประเทศเพื่อขับเคลื่อนงาน AMRและการบริหารและติดตามประเมินผล

    การบริหารและขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ มีคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการ / คณะทำงาน ภายใต้เป็นโครงสร้างและกลไกหลักในการดำเนินการ ทั้งนี้ ในการสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้าน จุลชีพแห่งชาติ ได้มีการกำหนดหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่เป็นแกนประสานของแต่ละยุทธศาสตร

    กลยุทธ์ที่ 3 สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเชื้อดื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพในประเทศไทย

    นอกจากการสนับสนุนการงานวิจัยและพัฒนาโดยแผนงาน CCS-AMR และการดำเนินการต่างๆ ได้มีการสนับสนุนทางวิชาการ และเอื้ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ต่างๆ เช่น

    • สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 1 โดยจัดประชุม core team เพื่อพัฒนากรอบการทำงานในการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล อย่างบูรณาการ
    • สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยจัดทำกรอบการจัดลำดับความสำคัญในการปรับประเภทยาต้านจุลชีพ (prioritization for antimicrobial reclassification) จัดทำ algorithm ในการปรับประเภทยาต้านจุลชีพระยะที่ 2 ตามแผนการปรับสถานะยาต้าน จุลชีพสำหรับมนุษย์ พ.ศ. 2561-2563 รวมทั้งจัดทำสื่อเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนเรื่องการปรับสถานะยาต้านจุลชีพเพื่อ ลดแรงต้านจากสังคมต่อมาตรการดังกล่าว
    • สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 3 โดยจัดทำกรอบการทำงาน Integrated AMR Management in hospital: IAMรวมทั้งสื่อ IAM (Fact sheet และ animation) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อแจกจ่ายให้หน่วยงานที่เป็นแกนประสานยุทธศาสตร์ที่ 3 ใช้ในการ สื่อสารและดำเนินการร่วมกับโรงพยาบาล สมาคม/องค์กรวิชาชีพ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรื่อง กรอบการทำงาน IAM กับองค์การอนามัยโลก และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุขนอกจากนี้ ได้ร่วมยกร่างข้อเสนอ โครงการ (proposal) โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างบูรณาการในโรงพยาบาล รวมทั้งดำเนินการ สำรวจการรับรู้ (awareness) ของผู้บริหารโรงพยาบาลต่อแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทยฯ และ กรอบการทำงาน IAM
    • สนับสนุนยุทธศาสตร์ที่ 5 โดยพัฒนากรอบแนวคิดสำหรับแผนสื่อสารสุขภาพเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยา และความตระหนัก ด้านการใช้ยาต้านจุลชีพแก่ประชาชน สนับสนุนการดำเนินงาน Antibiotic Awareness Week รวมทั้งผลิตและแจกจ่ายสื่อความรู้ เรื่องเชื้อดื้อยาและยาปฏิชีวนะแก่ประชาชน

    นอกจากนี้ ได้จัดทำเว็บไซด์ www.amrthailand.net เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ ประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ฯ

    กลยุทธ์ที่ 4 ธำรงบทบาทเชิงรุกของประเทศไทยในเวทีโลกในการร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อแก้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ

    ในช่วงของการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ประเทศไทยได้มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบาย AMR ระดับโลกและภูมิภาค ดังน

    1. การกำหนดท่าทีของประเทศไทยต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย AMR ระดับโลก
      การกำหนดท่าทีของประเทศไทยฯ อาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ (ทั้งที่ประเทศไทย สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเจนีวา และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก) และกระทรวงสาธารณสุข (ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยารวมทั้งที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศกระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้านการดื้อยาต้าน จุลชีพ) โดยอาจมีการปรึกษาเพิ่มเติมกับกระทรวงอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในบางประเด็น
      • ประเด็นหลักของการหารือมักเป็นเรื่องข้อเสนอแนะ (IACG recommendations)* เพื่อขับเคลื่อนงาน AMR ระดับโลกได้อย่าง มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
      • ข้อเสนอที่จะผนวก AMR เข้ากับ Sustainable Development Goals (SDGs)ในหัวข้อUniversal Health Coverage (UHC)
      • ข้อเสนอร่าง Global Antimicrobial Development and Stewardship Framework
      • ประเด็นวาระในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก
    2. AMR Action Package ภายใต้วาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก (GHSA)
      ในปี 2557 ประเทศไทยได้ตอบรับการเข้าร่วมเป็นcontributing country ใน AMR action package ปัจจุบัน AMR Action Package เข้าสู่ ช่วงที่ 2 (ปี 2019-2024 หรือ GHSA 2024 framework) ทั้งนี้ การดำเนินงานในช่วงนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ การทำงานของ AMR action package ภายใต้ GHSA เน้นการเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ความก้าวหน้าของการทำงาน และแจ้งประชาสัมพันธ์กิจกรรมสำคัญ โดยใช้การสื่อสารผ่านทาง teleconference เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังใช้ เป็นเวทีและเครือข่ายในการหาเสียงสนับสนุนข้อเสนอเชิงนโยบายโดยบางประเทศ ทั้งนี้ หากมีประเด็นที่ต้องหารือจะอาศัยกลไกตามข้อ 1 เพื่อ กำหนดท่าทีสำหรับประเทศไทย
    3. กรอบความร่วมมืออาเซียน
      กรอบความร่วมมืออาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาสังคมและวัฒนธรรม ประชาสังคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาสังคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน ทั้งนี้ประเด็นสุขภาพ (รวมทั้ง AMR) จัดอยู่ใต้ ‘ประชาสังคมและวัฒนธรรม’ โดยประเด็น AMR จัดอยู่ใน ASEAN Health Cluster 2: Responding to all hazards and emerging threats ซึ่งมีกรมควบคุมโรคเป็นผู้ประสานงานของ Health Cluster 2 ทั้งนี้ ประเทศไทย (โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) เป็น lead country ร่วมกับประเทศสิงคโปร์ ในการยกร่างกรอบการประเมินการดำเนินงาน AMR ในอาเซียน (ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ)และได้ร่วมพิจารณาร่าง ASEAN Strategic Framework to Combat Antimicrobial Resistance through One Health Approach [2019-2030](ซึ่งนำโดยประเทศฟิลิปปินส์ และ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ)นอกจากนี้ ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (ผ่านสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ในการ พิจารณา ASEAN Leaders’ Declaration on AMR: Combating AMR through One Health Approachและ ASEAN Plus Three Leaders' Statement on Cooperation Against Antimicrobial Resistance (AMR) ซึ่งผ่านการรับรองในปี 2560 และ 2561 ตามลำดับ